กีฬายกน้ำหนักในไทยนั้นมีผู้เล่นเพียงไม่กี่คน ส่วนใหญ่ผู้ที่เล่นกีฬาชนิดนี้ก็เพื่อไปแข่งขัน มิใช่กีฬาที่คนทั่วไปนิยมเล่นเท่าไรนัก แต่ถึงอย่างไรก็ตามกีฬายกน้ำหนักเป็นที่สนใจของชาวไทยมาก เมื่อถึงช่วงฤดูการแข่งขันเอเชียนเกมส์หรือโอลิมปิกเกมส์ เพราะคนไทยต่างคาดหวังกันว่านักกีฬายกน้ำหนักไทยจะต้องคว้ารางวัลมาได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งส่วนใหญ่นักกีฬายกน้ำหนักไทยก็ไม่เคยทำให้คนไทยผิดหวัง

ในสมัยก่อนมนุษย์เราใช้การยกน้ำหนักเป็นการวัดความแข็งแรงของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการยกถุงทราย การยกหิน การยกเหล็ก การยกกระสอบข้าว การแบกสัตว์แบกสิ่งของต่างๆ โดยสิ่งของที่ใช้ในการแบกหรือยกจะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย และตามแต่ละท้องถิ่น จนได้มีการเผยแพร่และพัฒนาการยกน้ำหนักมาเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ที่มีการแข่งขันระดับภูมิภาค ระดับประเทศ
การยกน้ำหนักไม่มีปีที่เกิดขึ้นอย่างแน่ชัด แต่การแข่งขันกีฬายกน้ำหนักเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค. ศ.1896 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ และได้มีการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ในกีฬายกน้ำหนักมาเป็นบาร์เบลครั้งแรกในแถบยุโรปตะวันตก ประมาณช่วงศตวรรษที่ 19 ในยุโรปตะวันตก ต่อมาปี ค. ศ.1920 กีฬายกน้ำหนักได้ถูกบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และได้เปลี่ยนกฎเกณฑ์กติกาในการแข่งขัน โดยให้กีฬายกน้ำหนักอยู่ภายใต้การดูแลสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ
ในปัจจุบันมีท่าที่ใช้ในการแข่งขันยกน้ำหนักทั้งหมด 2 ท่า คือ
ท่าสแนทซ์ (The two hands of Snatch)
ในการยกท่าสแนทซ์ นักกีฬายกน้ำหนักจะต้องใช้มือทั้ง 2 ข้างในการจับบาร์ แล้วดึงหรือยกขึ้นเป็นจังหวะ โดยที่แขนทั้งสองต้องเหยียดตรงยกขึ้นเหนือศีรษะ ในขณะที่กำลังจะยกบาร์เบลขึ้นนักกีฬาจะย่อเข่าหรือแยกเท้าเพื่อทรงตัวและรับน้ำหนักของบาร์เบลก็ได้ หลังจากนั้นเก็บเท้าให้อยู่ในแนวเดียวกับลำตัวและบาร์เบล และอยู่ในท่าที่นิ่ง
–ท่าคลีนแอนด์เจอร์ด (The two hands of clean and Jerk)
ในการยกท่าคลีนแอนด์เจอร์ดจะเป็นการยก 2 แบบ ในท่าเดียวกัน
ท่าคลีน คือ ท่าที่นักกีฬายกน้ำหนักจะต้องใช้มือทั้งสองข้างจับบาร์ แล้วดึงหรือยกขึ้นเป็นจังหวะเดียว ให้บาร์เบลขึ้นไปพักที่แนวไหล่ หลังจากนั้นจึงยืนขึ้น แล้วอยู่ในท่านิ่งเพื่อเตรียมทำท่าเจอร์คต่อไป
ท่าเจอร์ค คือ ท่าที่นักกีฬายกน้ำหนักจะต้องดันบาร์เบลด้วยการเหยียดแขนให้เป็นจังหวะเดียว โดยนักกีฬาอาจจะย่อเข่าแล้ว สปริงข้อเท้าขึ้นเพื่อส่งแรงในการดันบาร์เบลให้ขึ้นไปอยู่เหนือศีรษะ หลังจากนั้นเก็บเท้าให้อยู่ในแนวเดียวกับลำตัวและบาร์เบล และอยู่ในท่าที่นิ่ง
วิธีการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก
มีการแข่งยกน้ำหนัก 2 ท่า คือ ท่าสแนทซ์ และท่าคลีนแอนด์เจอร์ด โดยเริ่มแข่งท่าสแนทซ์ก่อน นักกีฬามีสิทธิ์ยกน้ำหนักไม่เกิน 3 ครั้ง เมื่อยกเสร็จจะมีเวลาพัก 5 นาที หลังจากนั้นจะเริ่มแข่งท่าคลีนแอนด์เจอร์ดต่อ นักกีฬามีสิทธิ์ยกน้ำหนักไม่เกิน 3 ครั้ง เมื่อแข่งเสร็จแล้วจะทำการคำนวณคะแนนเพื่อจัดอันดับการได้รับรางวัล ซึ่งจะมีการจัดอันดับแค่ 1-3 เท่านั้น อันดับที่ 1 ได้เหรียญทอง อันดับที่ 2 ได้เหรียญเงิน และอันดับที่ 3 ได้เหรียญทองแดง
แม้กีฬายกน้ำหนักจะไม่ใช่กีฬาที่คนทั่วไปนิยมเล่นกัน แต่ก็ยังมีนักกีฬายกน้ำหนักบางส่วนที่ฝึกฝนการยกน้ำหนักสำหรับการไปแข่งขันในระดับต่างๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่ตัวนักกีฬาแล้วยังสร้างความภูมิใจแก่คนไทยอีกด้วย ในการแข่งยกน้ำหนักจะมีการกำหนดรุ่น ได้แก่
-รุ่นมาตรฐานประเภทชายมี 8 รุ่น ดังนี้
1.รุ่นน้ำหนัก 56 กิโลกรัม
2.รุ่นน้ำหนัก 62 กิโลกรัม
3.รุ่นน้ำหนัก 69 กิโลกรัม
4.รุ่นน้ำหนัก 77 กิโลกรัม
5.รุ่นน้ำหนัก 85 กิโลกรัม
6.รุ่นน้ำหนัก 94 กิโลกรัม
7.รุ่นน้ำหนัก 105 กิโลกรัม
8.รุ่นน้ำหนักเกิน 105 กิโลกรัม
-รุ่นมาตรฐานประเภทหญิงมี 7 รุ่น ดังนี้
1.รุ่นน้ำหนัก 48 กิโลกรัม
2.รุ่นน้ำหนัก 53 กิโลกรัม
3.รุ่นน้ำหนัก 58 กิโลกรัม
4.รุ่นน้ำหนัก 63 กิโลกรัม
5.รุ่นน้ำหนัก 69 กิโลกรัม
6รุ่นน้ำหนัก 75 กิโลกรัม
7.รุ่นน้ำหนักเกิน 75 กิโลกรัม
นักกีฬายกน้ำหนักที่จะเข้าแข่งขันในรุ่นใดก็ตามจะต้องมีน้ำหนักที่ไม่ต่ำกว่าหรือเกินกว่าจำนวนน้ำหนักที่กำหนดของรุ่นนั้น เช่น นักกีฬายกน้ำหนักที่เข้าแข่งขันรุ่น 77 กิโลกรัม ประเภทชาย จะต้องมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 69.1 – 77.0 กิโลกรัม
การตัดสินกีฬายกน้ำหนัก
1.กำหนดให้มีผู้ตัดสิน 3 คน ทำหน้าที่ให้คำตัดสินภายใต้การควบคุมของ คณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน
2.เมื่อนักกีฬายกถึงท่าเสร็จสมบูรณ์ ผู้ตัดสินแต่ละคนจะวินิจฉัยให้คำตัดสินของตนเองอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
– ก. ถ้าเห็นว่าถูกกติกา จะให้สัญญาณไฟ สีขาว
– ข. ถ้าเห็นว่าผิดกติกา จะให้สัญญาณไฟ สีแดง
- ถ้าผู้ตัดสินคนใด พิจารณาเห็นว่า ขณะนักกีฬากำลังทำการยกได้ทำผิดกติกาให้ตัดสินด้วยสัญญาณไฟสีแดงได้ทันที
- สรุปคำตัดสิน ให้ใช้คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของผู้ตัดสินทั้ง 3 คน
การจัดลำดับที่ของการแข่งขัน (ผลการแข่งขัน)
เมื่อแข่งขันเสร้จให้จัดลำดับที่ของ ท่าสแนทซ์ ท่าคลีนแอนด์เจอร์ด และสถิติโอลิมปิคโตเติล ตามขั้นตอน ดังนี้
– 1. ผู้ใดยกได้สถิติดีกว่าเป็นผู้ชนะ
– 2. ถ้ายกได้สถิติเท่ากัน ใครน้ำหนักตัวน้อยกว่าเป็นผู้ชนะ
– 3. ถ้าน้ำหนักตัวเท่ากันอีก ให้ดูว่าใครยกสถิติที่เท่ากันได้ก่อนเป็นผู้ชนะ ” กีฬายกน้ำหนักไม่มีเสมอครับ “
การยกท่าสแนทซ์ (SNATCH)
ให้นักกีฬาใช้มือทั้ง 2 ข้าง จับคาน (บาร์) แล้วดึงหรือยกขึ้นเป็นจังหวะเดียวให้แขนทั้งสองเหยียดตรงขึ้นเหนือศรีษะ นักกีฬาอาจ จะแยกเท้าหรือย่อเข่าเพื่อการทรงตัวและรับน้ำหนักของบาร์เบลแล้วยืนขึ้นอยู่ในท่านิ่งให้เท้าทั้งสองข้างลำตัวและบาร์เบลอยู่ในแนว ดียวกันซึ่งถือเป็นท่าที่เสร็จสมบูรณ์
ข้อที่ผิดกติกาบ่อยๆ เช่น
– การดึงบาร์เบลจากท่าแขวน คือ ดึงบาร์เบลจากท่าแขวน คือ ดึงบาร์เบลขึ้นมาแล้วหยุดชะงักแล้วดึงต่อ (เป็นแบบ 2 จังหวะ)
– หัวเข่าหรือก้นสัมผัสกับพื้น
– หยุดชะงักระหว่างเหยียดแขน
– ไม่เหยียดแขนสุด เมื่อยกได้สำเร็จ
– วางบาร์เบลลงก่อน ได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน
– ปล่อยหรือทิ้งบาร์เบลลงด้านหลังของนักกีฬา
– ปล่อยมือจากบาร์เบลขณะที่บาร์เบลอยู่เหนือระดับเอว ฯลฯ
ลำดับการเรียกนักกีฬาขึ้นยก
เพื่อความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ใส่น้ำหนักเหล็ก จึงกำหนดให้ “กรรมการจัดลำดับการยก” ประกาศเรียกนักกีฬาที่ขอน้ำหนักของบาร์ เบล ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าคนอื่นๆ ขึ้นยกก่อน เมื่อการแข่งขันดำเนินต่อๆ ไป จะปรากฎว่า น้ำหนักของบาร์เบลบนเวทีจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น เรื่อยๆ
สรุป คนที่ไม่ค่อยเก่ง ยกได้น้อยจะถูกเรียกขึ้นยกก่อน คนเก่งๆ ยกได้มากๆ จะถูกเรียกขึ้นยกตอนท้ายๆ แต่ละคนจะมีสิทธิ์ได้ยกคนละ 3 ครั้ง ของแต่ละท่า เคยปรากฎบ่อยๆ ว่าคนเก่งๆ ได้ยกเป็น คนสุดท้ายแต่ทำผิดกติกาฟาวล์ทั้ง 3 ครั้ง ก็ไม่ได้รับรางวัลอะไรเลย
การยกท่าคลีนแอนด์เจอร์ค(CLEAN & JERK)
เป็นการยก 2 แบบ รวมอยู่เป็นท่าเดียวกัน
การคลีน ให้นักกีฬาใช้มือทั้งสองข้างจับคาน (บาร์) แล้วดึงหรือยกขึ้นเป็นจังหวะเดียวให้บาร์เบลขึ้นไปพักที่แนวไหล่ แล้วยืนขึ้น อยู่ในท่านิ่งเพื่อทำท่าเจอร์คต่อไป
การเจอร์ค คือการดันบาร์เบลด้วยการเหยียดแขนให้เป็นจังหวะเดียว ให้บาร์เบลขึ้นไปอยู่เหนือศรีษะ นักกีฬาอาจจะย่อเข่าแล้ว สปริงข้อเท้าเหยียดขึ้นเพื่อเป็นแรงส่งการดันบาร์เบล หลังจากนั้นค่อยๆ เก็บเท้าให้อยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัวและบาร์เบล ซึ่งถือเป็นท่าเสร็จสมบูรณ์
ข้อผิดกติกาบ่อยๆ เช่น
– ดึงบาร์เบลจากท่าแขวน
– ขณะคลีนข้อศอกสัมผัสกับเข่าหรือขา
– ขณะคลีนเข่าหรือกันสัมผัสกับพื้น
– จงใจเขย่าหรือสั่นบาร์เบลเพื่อประโยชน์ในการเจอร์ค
– งอข้อศอกหรือเหยียดแขนระหว่างการยกยังไม่สำเร็จ
– วางบาร์เบลลงก่อนได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน
– ปล่อยมือหรือทิ้งบาร์เบลลงด้านหลังของนักกีฬา
– ปล่อยมือจากบาร์เบล ขณะที่บาร์เบลอยู่เหนือกว่าระดับเอว
การกำหนดเวลาให้ยกนักกีฬาแต่ละคนมีเวลา 1 นาที สำหรับการยก ถ้ายกติดต่อกัน จะมีเวลาเพิ่มเป็น 2 นาที ตั้งแต่ถูกเรียกจนยกบาร์เบลพ้นพื้น ถ้าหมด เวลาดังกล่าวแล้ว นักกีฬายังไม่ยกถือว่าผิดกติกา
สนับสนุนโดย คาสิโนออนไลน์888